วช. นำทัพ สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม ร่วมประกวดและจัดแสดงในงาน “The 49th International Exhibition of Inventions Geneva” ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส

   เมื่อ : 18 เม.ย. 2567

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พร้อมด้วยหน่วยงานวิจัยภาครัฐ สถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษา ระดับมัธยมศึกษา พร้อมด้วยภาคเอกชน ร่วมนำผลงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรม เข้าร่วมประกวด และจัดแสดงในงาน “The 49th International Exhibition of Inventions Geneva”

ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า การแสดงผลงานสิ่งประดิษฐ์คิดค้นและนวัตกรรมของประเทศ ที่ร่วมประกวดและจัดแสดงในเวทีของงานสิ่งประดิษฐ์นานาชาติเจนีวา ครั้งที่ 49 ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส ที่จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 17 – 21 เมษายน 2567

ในครั้งนี้ มีผลงานจากนานาประเทศทั้งจากทวีปยุโรป เอเชียและอเมริกา เข้าร่วมประกวดและจัดแสดงนิทรรศการมากกว่า 1000 ผลงาน จากกว่า 40 ประเทศ นับเป็นโอกาสสำคัญในการส่งเสริมและสนับสนุนนักประดิษฐ์และนักวิจัยไทยในการได้แลกเปลี่ยนความรู้เทคโนโลยีและประสบการณ์กับนักประดิษฐ์และนักวิจัยจากนานาประเทศและได้เผยแพร่ผลงาน รวมถึงได้แสดงความสามารถในการประดิษฐ์คิดค้นสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อสายตาชาวโลกในปีนี้ วช. ได้สนับสนุนหน่วยงานเครือข่าย ด้านสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม ทั้งจากหน่วยงานภาครัฐ สถาบันการศึกษา รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชน จาก 37 หน่วยงาน มาร่วมนำเสนอ จำนวน 94 ผลงาน วช. มุ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ศักยภาพของนักประดิษฐ์นักวิจัยไทย ณ เวทีการประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมระดับนานาชาติครั้งนี้ จะเป็นอีกจุดเริ่มต้นสำคัญของการยกระดับให้งานวิจัยและผลงานประดิษฐ์คิดค้นของคนไทยเป็นที่ยอมรับในระดับสากล

หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน พร้อมด้วยสถาบันการศึกษา ที่มาร่วมนำเสนอผลงานทั้ง 37 แห่ง ประกอบด้วย
-จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
-มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
-มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
-มหาวิทยาลัยขอนแก่น
-มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
-มหาวิทยาลัยนเรศวร
-มหาวิทยาลัยทักษิณ
-มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
-มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
-มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี -มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี -มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
-มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
-ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์

-โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย
-โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง
-โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ปทุมธานี
-โรงเรียน พนมสารคาม “พนมอดุลวิทยา”
-โรงเรียนร่วมฤดีวิเทศศึกษา

-สํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
-สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
-กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
-การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
-การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
-การไฟฟ้านครหลวง

-สมาคมกีฬาเครื่องบินจําลองและวิทยุบังคับ
-บริษัท อินโน ไวเทิลเทค จํากัด
-บริษัท ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหาร ซีพีเอฟ จํากัด
-บริษัท ไบโอ-อัพ จํากัด
-บริษัท เวคิน (ประเทศไทย) จํากัด
-บริษัท ดอกบัวคู่ จํากัด
-บริษัท เทพประทานสมุนไพร จํากัด
-บริษัท ยูไนเต็ต แคร์ เซอร์วิส จํากัด
-บริษัท 7 ดราก้อน อินโนเวชั่น (ประเทศไทย) จํากัด
-บริษัท เอพี 2022 จํากัด
-บริษัท เฮลท์ อินโนวิชั่น จํากัด

วช. หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้แสดงศักยภาพของคนไทยที่มีความสามารถในด้านการวิจัยและการประดิษฐ์คิดค้นที่ไม่แพ้ชาติใดในเวทีการประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมระดับนานาชาตินี้และเป็นจุดเริ่มต้นของการยกระดับให้ผลผลิตจากงานวิจัยและผลงานประดิษฐ์คิดค้นของคนไทยเป็นที่ยอมรับในระดับสากล

ข่าวอื่นๆ ที่น่าสนใจ